บทความเกษตรเพื่อชีวิต

 

เศรษฐกิจพอเพียงบนรากฐานการงานเพื่อชีวิต(สัมมาอาชีวะ)

 (เรียบเรียงจากหนังสือ การเกษตรเพื่อชีวิต โดย บัญชา ตั้งวงษ์ไชย มกราคม 2541)

บทความนี้เรียบเรียงจากประสบการณ์ของคุณบัญชา ตั้งวงษ์ไชย ที่ได้รู้-ได้เห็น-ได้สัมผัส จากความจริงของชีวิต
ทุกอย่างที่นำเสนอ คือ ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยใช้สายตา ที่มองภูเขาเป็นภูเขา มองแม่น้ำเป็นแม่น้ำ
(ไม่ใช่แหล่งทรัพยากรและพลังงาน) ขอให้ท่านอ่านบทความนี้ อย่างผ่อนคลายทำใจให้เบิกบาน
สิ่งใดที่อาจเกิดประโยชน์ได้ ขอให้เก็บไปไม่สงวนลิขสิทธิ์ สิ่งใดที่ยังรับไม่ได้ ก็อย่าเก็บไปใส่ใจเพราะจะทำให้ทุกข์

ประสบการณ์และคำตอบของชีวิต

ประสบการณ์ 40 ปี (2493-2533) ที่ผู้เขียนได้ใช้ชีวิตอยู่ในขบวนการแข่งขันเสรีนี้โดยเฉพาะช่วงท้าย ๆ 7 ปี
(2526-2533) ได้มีโอกาสไปใช้ชีวิตอยู่สหรัฐอเมริกา ซึ่งถือได้ว่า เป็นเจ้าลัทธิธุรกิจแข่งขันเสรีนิยม ได้ลิ้มรส
ได้สัมผัสสังคมต้นตำรับที่มีความพร้อม มีกำลังในทุกๆ ด้าน พอเพียงต่อการสนองตอบลัทธิความเชื่อที่ได้ตั้งโจทย์
ไว้อย่างเต็มรูปแบบทุกอย่างทุกขบวนการดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพโปร่งใส-มีเหตุมีผล มุ่งสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน
แต่ผู้เขียนเองยังมองไม่เห็นว่า “ลัทธิความเชื่อนี้ จะเกิดผลสำเร็จได้” เพราะคำว่า

สำเร็จ

เช่น ชายผู้หนึ่งเปิดร้านขายก๋วยเตี๋ยว วันหนึ่งขายได้ประมาณ 1000 บาท มีอยู่มีกินมีเลี้ยงลูกปิดร้าน
บ่ายสามโมงมีเวลาตีขิมร้องเพลง จิตใจสงบนิ่ง ไม่มีกังวลเพราะปราศจากหนี้สิน พอระบบธุรกิจนิยมเข้ามาแทรกแซง
ถูกกระตุ้นให้แข่งขันเพื่อมุ่งสู่ความเจริญเติบโตมั่นคงไปกู้เงินธนาคารมาขยายร้านเป็นภัตตาคารใหญ่โต
กิจธุระมากขึ้นขายวันละหลายหมื่นบาท เที่ยงคืนก็ยังไม่ได้นอน ต้องหมุนเงินให้พอค่าใช้จ่ายเจ้าหนี้ก็ตามทวง
จิตใจที่เคยสงบนิ่ง กลับกลายเป็นความว้าวุ่นกังวลใจ ความมั่นคงทางการค้าที่เคยเป็นกลับกลายเป็นความเปราะบางทางธุรกิจ

จน

ความมั่นคง ไม่ควรแปลว่า เจริญเติบโต
          ดังนั้น จำเป็นจริงๆ หรือ ? ที่…
          ต้องผ่านขบวนการแข่งขัน มีได้มีเสียก่อนจึงค่อยดำรงชีวิตอยู่ได้
          ต้องเล่นเกมธุรกิจ เพื่อให้เจริญเติบโตมั่นคงก่อน จึงจะมีความสุข
          ต้องละทิ้งความเป็นคนจน มุ่งสู่ความเป็นคนรวย จึงจะมีความสุข
          ต้องละทิ้งความเป็นคนธรรมดา มุ่งสู่ความเป็นคนมีชื่อเสียง จึงจะมีความสุข
          ต้องละทิ้งความเป็นคนไม่เก่ง มุ่งสู่ความเป็นคนเก่ง จึงจะมีความสุข

นี้คือ คำตอบที่ผู้เขียนมีให้กับตัวเอง และได้ใช้เวลาอยู่ประมาณครึ่งค่อนปี ชำระล้างสายใยความ ผูกพันต่างๆ
ละทิ้งความเป็นนักสู้ นักธุรกิจ ลาออกจากความเป็นชาวเมือง กลับคืนสู่ภูมิลำเนาบ้านเกิดเมืองนอน ดำเนินชีวิต
ตามภาษานกกระจิบตัวเล็กๆ ซึ่งทำรังแต่พอตัว จากความเป็นชาวเมือง กลับมาสู่ความเป็นชาวจักรวาล
ที่กว้างใหญ่ไพศาล 7 ปีที่ผู้เขียนและครอบครัวดำรงชีวิตเป็นชาวเกษตรเพื่อชีวิต (พ.ศ. 2533-2540)
เป็นชาวบ้าน เป็นชาวจักรวาล ได้เกิดคำตอบซึ่งเป็นสัจธรรมชีวิตมากมาย จากคำตอบซึ่งเกิดจากคำถามของตัวเอง
จากคำตอบซึ่งเกิดขึ้นเองโดยประสบการณ์ จากคำตอบซึ่งเกิดขึ้นจากคำถามของผู้คนมากหน้าหลายตาที่ผ่านเข้ามาเยี่ยมเยียน

เกษตรเพื่อชีวิต เศรษฐกิจพอเพียง

การเกษตรเพื่อชีวิต เปรียบเสมือนการเปิดประตูบานใหญ่ เข้าไปสู่โลกจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล
ไม่มีขอบเขตจำกัด การเกษตรเป็นขบวนการผลิตปัจจัยสี่ นั่นคือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม
ยารักษาโรค เป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานซึ่งมีความจำเป็นในการ ดำรงชีวิตของมนุษย์

การเกษตร

ทำเพราะธรรม

ดำรงชีวิตแบบครอบครัวใหญ่ รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ร่วมแรงร่วมใจสามัคคี สร้างปัจจัยสี่ให้สมบูรณ์หลีกเลี่ยงสารเคมีจรรโลงรักษาสิ่งแวดล้อมและศีลคือวินัยของเรา

เพื่อความอยู่ดีกินดีอย่างพอเพียงของสมาชิก ส่วนเกินช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส

ไร่แหลมทอง 62 หมู่ 2 ต.โนนก่อ อ.สิรินธร จ.อุบลฯ 34350

มนุษย์เราใช้ปากกิน ก็จะมีกระเพาะลำไส้มารองรับจนอิ่ม หรือเต็มแล้ว ก็ต้องหยุดกิน
ระบบธรรมชาติควบคุมกันอยู่อย่างอัตโนมัติ แต่ถ้าใช้หน้าตากิน ไม่มีอะไรมารองรับ
ก็ไม่รู้จักอิ่มจักเต็ม คำว่า พอ คงไม่เกิดขึ้น ตลอดชีวิต จึง ต้องทำ-ต้องสู้ เพื่อให้หน้าตามันกิน
เกษตรเพื่อชีวิต มิใช่เพื่อธุรกิจ เกษตรเพื่อชีวิต เป้าหมาย ทำเพื่อชีวิต

ทุกสาขาอาชีพก็ทำเพื่อชีวิต เพียงแต่ความเคยชินทำให้เข้าใจว่า ต้องเจริญเติบโตมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และต้องผ่านขบวนการแข่งขันเพื่อชนะชีวิตจึงจะสมบูรณ์ เป็นการยอมรับในเป้าหมายเหมือนกันคือ เพื่อชีวิต
แต่ การมองชีวิตไม่เหมือนกัน จึงมีหลักการที่แตกต่างกัน
เกษตรเพื่อชีวิต มิใช่เพื่อธุรกิจ เป็นโจทย์ซึ่งถูกตั้งไว้ เพื่อเตือนสติ และเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ระบบ
ธุรกิจเข้ามาแทรกแซง เพราะระบบธุรกิจมีเครือข่ายโยงใยเป็นขบวนการเป็นบ่อเกิดของ

●ความแตกแยก
●ไม่อิสระ
●เป็นตัวพัฒนา กิเลส
●เป็นตัวที่ทำให้ผู้คนเห็นแก่ตัว เป็นตัวที่ทำให้มนุษย์ด้วยกันต้องอยู่ด้วยกันอย่างหวาดระแวง
●เป็นตัวทำลาย ระบบเศรษฐกิจ-สังคม-การเมือง
●เป็นตัวทำลายระบบครอบครัว, เป็นตัวทำให้มนุษย์หลงทางชีวิต
●เป็นตัวทำให้มนุษย์กลายเป็นนักการทำงานซึ่งเป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบธุรกิจจนลืมชีวิต
●เป็นตัวทำให้เกษตรกรละทิ้งความเป็นผู้มีโอกาสกลายเป็นทาสทางเศรษฐกิจ
●เป็นตัวทำให้มนุษย์ลืมความเป็นธรรมชาติเผ่าพันธุ์
●เป็นตัวทำให้ความจนเกิดขึ้นในสังคมมนุษย์เพราะความอยากรวย
●เป็นตัวทำให้พ่อแม่ต้องอบรมให้ลูกละทิ้งพ่อแม่เพื่อวิ่งตามความเจริญเติบโต
●เป็นตัวทำให้ระบบการศึกษาต้องเน้นสอนให้เป็นคนเก่ง ไม่เน้นสอนให้เป็นคนดี
●เป็นตัวทำให้เกิดความไม่มั่นคง เพราะเกมธุรกิจมีได้ มีเสีย ความแน่นอนไม่มี ผลเสี่ยงมีสูง ทำให้ผู้เล่นเกิดความกังวลห่วงใย จิตไม่สงบนิ่ง ยากที่จะทำให้เป็น “สัมมาอาชีวะ”

เกษตรเพื่อชีวิต เป็นอาชีพสุจริต (สัมมาอาชีวะ) เป็นนายของตัวเอง มีอิสระเสรี มีตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ปราศจากพันธนาการต่างๆ ไม่ฝากอนาคตไว้กับสภาวะตลาดที่ไม่แน่นอน จึงปฏิเสธที่จะเอาชีวิตผู้คนไปผูกติดกับ เกมธุรกิจ

หลักคือ ทำอยู่ ทำกิน ทำทาน มิใช่เพื่อ ผลประโยชน์ ผลผลิต ผลมะม่วง ผลมะขาม ผลสับปะรด หรือเพื่อผลงาน

ทำมาหากิน มิใช่ทำมาหาขาย

มิได้หมายความว่า ทำเพื่อขายนั้น เป็นเรื่องไม่ดีทั้งหมด แต่เน้นให้เป็นเรื่องรอง เพราะ ทำมาหากิน
มีกินแน่นอน แต่ทำมาหาขายจะมีเหลือกินหรือไม่ อยู่ที่ขายมีกำไรหรือเปล่า ถ้ามีกำไรก็มีเหลือกิน
ถ้าไม่มีกำไรก็ต้องกู้หนี้ยืมสินมาซื้อกิน เราต้องยอมรับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ในตลาดการซื้อขาย
ผลผลิตการเกษตรบ้านเรา ยังไม่มีคุณธรรม ผลเสี่ยงสูง ความแน่นอนไม่มี เกษตรกรเปราะบางเกินกว่า
จะมาเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย เพราะสิ่งสำคัญที่สุด คือ การดำรงชีวิตเกมธุรกิจในยุคนี้ ถูกพัฒนาไปอย่าง
เร่าร้อนรุนแรง มันมีวิชามารแฝงอยู่ในระบบ อย่าว่าแต่เกษตรกรที่ ไม่รู้อิโหน่อิเหน่เลยที่กลายเป็นทาสมัน
“ผู้รู้” ซึ่งเรียนถึงปริญญาโท-ปริญญาเอก ก็ต้องล้มลุกคลุกคลานเพราะฤทธิ์ของธุรกิจ ก็มีให้เห็นอยู่มากมาย
สุดท้าย แพ้ก็เจ็บ ชนะก็เจ็บ

วิธีการ

ถ้าเกษตรกรยอมรับในความไม่รู้ของตัวเองว่า เราไม่รู้เรื่องธุรกิจ เราชกมวยไม่เป็น ก็ไม่ต้องไปเล่น เกมธุรกิจ
และไม่จำเป็นต้องไปชกมวยก็ไม่ต้องเจ็บตัว เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้ เพราะ
คนไม่รู้ ก็คือ คนไม่รู้ มิใช่คนโง่ คนโง่ คือ คนไม่รู้แล้วอวดรู้ หรือรู้แล้วก็ยังขืนทำสิ่งที่ผิด ให้ตัวเองและผู้อื่นเดือดร้อน
เกษตรเพื่อชีวิต ยอมรับในความเป็น ผู้ไม่รู้ แล้วถอยกลับไปอยู่กับความเป็นจริง ตามวิถีทางของนกกระจิบ
นกกระจอกตัวเล็กๆ ทำรังแต่พอตัว พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ โดยไม่ทำให้ตัวเองเป็น ภาระของสังคม
ชาวชนบทไทยตั้งแต่โบราณกาล ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา พ่อ แม่ พี่ น้อง ดำรงชีวิตร่วมกัน แบบครอบครัวใหญ่
ดูแลซึ่งกันและกัน ตั้งแต่เกิดจนตาย รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม ทำการเกษตร ตามฤดูกาล
อยากกินอะไร….ก็ปลูกมากิน อยากอยู่อย่างไร…ก็ปลูกก็สร้างมาอยู่ ตามกำลังแรงงานที่ครอบครัวมีอยู่
ไม่มีหนี้สิน ลงแรงไม่ลงทุน ไม่มีต้นทุน-ไม่มีกำไร-ไม่มีขาดทุน-ไม่มีราคา มีแต่คุณค่าทางชีวิต ทุกคนทำหน้าที่
ตามธรรมชาติ ได้อยู่- ได้กิน-ได้ทาน มีความสุขตามอัตภาพ ซึ่งเป็นหลักพื้นฐานของการดำรงชีวิต
เกษตรเพื่อชีวิต จึงปฏิเสธที่จะร่วมขบวนการเล่นเกมธุรกิจแข่งขันเสรี เพราะมิใช่เกมที่เหมาะกับเผ่าพันธุ์ไทย
ที่ดำรงชีวิตแบบครอบครัวใหญ่ ถึงเวลาหรือยัง…ที่จะเอากระจกส่องดูตัวเองว่า “เราคือนกพันธุ์ไหน เหมาะที่จะดำรงชีวิตอย่างไร”

แค่ขยัน